ยินดีต้อนรับ โรงพยาบาลศรีธาตุเป็นองค์กรชั้นนำแห่งการเรียน ให้บริการสุขภาพแบบองค์รวม ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน โดยชุมชนมีส่วนร่วม

โปรแกรมโรงพยาบาล

hrms oncloud2

ตรวจสอบสิทธิ์



 

  1. ประชาสัมพัธ์ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง รพ.ศรีธาตุ

  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
  • 6
  • 7

มาตรฐานการพยาบาลและการผดุงครรภ์

มาตรฐานการพยาบาลและการผดุงครรภ์

    พระ ราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2540 กำหนดวัตถุประสงค์ให้สภาการพยาบาลส่งเสริมการศึกษา การบริการ การวิจัย และความก้าวหน้าในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ประกอบกับข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบ วิชาชีพ และการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพ กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพต้องรักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ในระดับที่ดีที่สุดในการปฏิบัติต่อผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ ดังนั้นสภาการพยาบาลจึงได้กำหนดมาตรฐานหลักของบริการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ทั้งที่เป็นบริการในชุมชนและในสถานบริการด้านการสาธารณสุข เพื่อให้หน่วยงานนำไปใช้ในการสร้างมาตรฐานที่เฉพาะเจาะจง สำหรับแต่ละหน่วยงานซึ่งจะนำไปสู่การบริการพยาบาลที่มีคุณภาพต่อไป ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 มาตรฐานการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (Nursing and Midwifery Standard) ประกอบด้วยมาตรฐานการบริหารองค์กรบริการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (Standard of Nursing and Midwifery Service Organization) มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (Nursing and Midwifery Practice Standard) มาตรฐานผลลัพธ์การพยาบาลและการผดุงครรภ์ (Nursing and Midwifery Outcome Standard)

ข้อ 2 มาตรฐานการบริหารองค์กรบริการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (Standard of Nursing and Midwifery Service Organization) มีรายละเอียดดังนี้

มาตรฐานที่ 1 การจัดองค์กรและการบริหารองค์กรบริการพยาบาลและการผดุงครรภ์
1.1 การบริหารจัดการการพยาบาลดำเนินการโดยองค์กรการพยาบาลและการผดุงครรภ์
1.2 ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรเป็นพยาบาลวิชาชีพ
1.3 องค์กรการพยาบาลและการผดุงครรภ์มีอำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดปรัชญา
     นโยบายทางการพยาบาลเพื่อเป็นทิศทางการปฏิบัติของทุกหน่วยงานบริการพยาบาลและการผดุงครรภ์
1.4 องค์กรการพยาบาลและการผดุงครรภ์มีโครงสร้างและขอบเขตงานในความรับผิดชอบชัดเจน
1.5 มีระบบและกลไกการบริหารที่เน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากร และการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน
1.6 มีนโยบาย เป้าหมายและแผนงานที่ส่งเสริมคุณภาพบริการพยาบาล และการส่งเสริมเอกสิทธิ์ในการปฏิบัติการพยาบาล

มาตรฐานที่ 2 การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล
2.1 มีระบบและกลไกการคัดสรรบุคลากรให้เหมาะสมกับงาน
2.2 พยาบาลทุกระดับมีคุณสมบัติเหมาะสมและประสบการณ์ที่เพียงพอ ดังนี้
     2.2.1 พยาบาลทุกคนต้องมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ตามกฎหมายวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
     2.2.2 พยาบาลวิชาชีพระดับหัวหน้าหน่วย / หอผู้ป่วย
     (1) ได้รับการศึกษาต่อ และ/หรือฝึกอบรมในสาขาที่ให้บริการนั้น ๆ
     (2) มีประสบการณ์ด้านการบริหาร และ/หรือผ่านการฝึกอบรมด้านบริหาร
     2.2.2 พยาบาลวิชาชีพระดับผู้บริหารสูงสุดขององค์กรการพยาบาล
     (1) สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และได้รับการอบรมด้านการบริหาร หรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
      หรือเทียบเท่า หรือปริญญาเอก
     (2) มีประสบการณ์ด้านการบริหารในระดับหอผู้ป่วยหรือหน่วยงาน
2.3 มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ (Jobdescriptions) และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง (Jobspecification) ของผู้ให้บริการการพยาบาล
      ทุกระดับชัดเจนตามลักษณะงานที่รับผิดชอบ
2.4 การจัดอัตรากำลังเหมาะสมกับความต้องการบริการพยาบาล (Nursing needs)
2.5 มีการจัดการเตรียมการการควบคุมกำกับและการประเมินผลการปฏิบัติงานที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้รับบริการว่า
      จะได้รับการบริการที่มีคุณภาพ
2.6 มีระบบการพัฒนาความรู้ ความสามารถบุคลากรเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาล
      ที่ทันสมัย

มาตรฐานที่ 3 การจัดระบบงาน และกระบวนการให้บริการการพยาบาล และการผดุงครรภ์
3.1 การบริการพยาบาลและการผดุงครรภ์ต้องคำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัยของผู้รับบริการมีการกำหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติ
     (NursingPolicy&Procedures)แนวทางการพยาบาลผู้ป่วย(NursingStandardofPatientCare)ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการประกอบ
     วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์รวมทั้งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและขอบเขตการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์
3.2 มีพยาบาลวิชาชีพเป็นหัวหน้าทีมการพยาบาลในการให้บริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ตลอดระยะเวลาที่ให้บริการ
3.3 การมอบหมายงานให้แก่บุคลากรที่มีความรู้และทักษะต่ำกว่าระดับวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ ต้องไม่ใช่งานในระดับ
      วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และมีพยาบาลผดุงครรภ์ ระดับวิชาชีพเป็นผู้กำกับดูแล
3.4 กำหนดนโยบาย และสนับสนุนการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์
3.5 มีกลไกส่งเสริมให้พยาบาลและผดุงครรภ์ประกอบวิชาชีพที่ได้มาตรฐาน และธำรงไว้ซึ่ง จริยธรรม และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
3.6 มีการจัดระบบสารสนเทศ และใช้ข้อมูลสารสนเทศทางการพยาบาล ในการบริหารจัดการ การดูแลช่วยเหลือผู้รับบริการ
      และการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลและการผดุงครรภ์

มาตรฐานที่ 4 ระบบการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
4.1 มีนโยบายและแผนงานการจัดการคุณภาพการพยาบาล และการผดุงครรภ์
4.2 มีระบบการบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
4.3 มีระบบประกันคุณภาพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
4.4 มีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous Quality Improvement)

ข้อ 3 มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล และการผดุงครรภ์ (Nursing and Midwifery Practice Standard)
      เป็น การปฏิบัติที่มีเป้าหมายหลักเพื่อให้ผู้รับบริการ มีภาวะสุขภาพที่ดีที่สุดตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ปัญหาสุขภาพและปัญหาที่เกี่ยวข้องได้รับการแก้ไขโดยพยาบาลและผดุงครรภ์ต้อง ปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 5 มาตรฐาน ดังนี้

มาตรฐานที่ การ ใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ต้องใช้กระบวนการ พยาบาลแก่ผู้รับบริการอย่างเป็นองค์รวมทั้งในระดับบุคคล กลุ่มบุคคล ครอบครัว และชุมชน ตามศาสตร์และศิลปะการพยาบาลในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ โดยผู้รับบริการมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม และมีการประสานความร่วมมือในทีมการพยาบาลและทีมสหสาขาวิชา

มาตรฐานที่ 2 การ รักษาสิทธิผู้ป่วย จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพในการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งการปฏิบัติเพื่อปกป้องและรักษาไว้ซึ่งสิทธิ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการรักษาพยาบาลของ ผู้รับบริการ

มาตรฐานที่ 3 การ พัฒนาคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ปฏิบัติการพยาบาลและการผดุง ครรภ์ บนพื้นฐานของศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ที่ทันสมัย โดยยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง มีการทบทวน ประเมินกระบวนการการดูแล ผู้รับบริการอย่างเป็นระบบ มีการนำความรู้จากการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์อย่างต่อเนื่อง

มาตรฐานที่ 4 การจัดการ การดูแลต่อเนื่อง ให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลที่สอดคล้องกับภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่อง โดยมีการวางแผนร่วมกับทีมสุขภาพ ผู้รับบริการและ/หรือผู้เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้รับบริการในการดูแลตนเอง และสามารถใช้แหล่งประโยชน์ในการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม

มาตรฐานที่ 5 การบันทึกและรายงานบันทึกและรายงานการพยาบาลและการผดุงครรภ์ให้ครอบคลุมการ ดูแลผู้รับบริการตามกระบวนการพยาบาล โดยครบถ้วน ถูกต้องตามความเป็นจริง ชัดเจน กะทัดรัด มีความต่อเนื่องและสามารถใช้เพื่อประเมินคุณภาพบริการการพยาบาลและการผดุง ครรภ์ได้

ข้อ 4 มาตรฐานผลลัพธ์การพยาบาลและการผดุงครรภ์ (Nursing and Midwifery Outcome Standard)
     เป็นองค์ประกอบสำคัญในการประเมินคุณภาพของบริการพยาบาลและผดุง ครรภ์ สามารถประเมินได้จากผลลัพธ์การปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ โดยใช้กระบวนการพยาบาลว่าบรรลุ เป้าหมายที่กำหนดหรือไม่ และผลลัพธ์โดยรวมของบริการพยาบาลและผดุงครรภ์ทั้งหน่วยงาน ซึ่งอาจประเมินได้จากองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้

4.1 ความปลอดภัยจากความเสี่ยง และภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ ทั้งด้าน กาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
4.2 ผู้รับบริการได้รับการบรรเทาจากความทุกข์ทรมาน ทั้งด้านกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
4.3 ความรู้ของผู้รับบริการเกี่ยวกับภาวะสุขภาพ
4.4 ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้รับบริการ
4.5 ความพึงพอใจของผู้รับบริการและสิทธิที่พึงได้รับ

แผนยุทธศาสตร์/คำรับรอง

ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบบริการสุขภาพแบบองค์รวมให้มีคุณภาพมาตรฐานเน้นการดำเนินงานเชิงรุกในรูปแบบเครือข่าย

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ประสานความร่วมมือกับภาคีและสนับสนุนเครือข่ายภาคประชาชนให้เกิดความเข้มแข็งด้านสุขภาพ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาบุคลากรในเครือข่าย บริการสุขภาพ สู่การเป็นเครือข่ายแห่งการเรียนรู้

ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ (การวางแผน การกำกับติดตาม การบริหารงบประมาณ ระบบที่สำคัญ 

จุดเน้น

  1. พัฒนามาตรฐานการดูแลที่ครอบคลุมทุกมิติในผู้ป่วยกลุ่มโรคสำคัญ โดยเน้นการจัดบริการเชิงรุกและเชื่อมโยงเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่ปลอดภัย และมีคุณภาพ

1.1) พัฒนามาตรฐานการดูแลตามกลุ่มโรคสำคัญ

กลุ่มโรคฉุกเฉิน  Trauma :  FX, HI

                             Non Trauma : ACS , Stroke-Sepsis

กลุ่มโรคเรื้อรัง :  DM , HT COPD/Asthma , CKD

กลุ่มโรคระบาด   : Dengue – TB – HIV – Pneumonia – Diarrhea

กลุ่มโรคแม่และเด็ก  แม่ : PPH – PIH

    ลูก : Neonatal Jaundice , BA , LBW

เน้น การเชื่อมโยง COC 3-2-1

1.2) พัฒนามาตรฐานการดูแลตามนโยบายความปลอดภัย

(1) พัฒนาประสิทธิผลของการสื่อสารระหว่างทีมผู้ให้การดูแลรักษาผู้ป่วย  Improve the  effectiveness of communication among caregivers (SBAR) : P2

(2) พัฒนาความปลอดภัยของแม่และทารก Improve the safety of maternal and child care (PPH) :  E3

(3) พัฒนาการตอบสนองต่อความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยที่อาการทรุดลง Rapid Response  to the Deteriorating Patient (RRT) : E4

(4) พัฒนาความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจ :Improve  the  safety  from Acute Coronary Syndrome : E2

(5) พัฒนาความปลอดภัยของระบบการใช้ยา สารน้ำและการให้เลือดImprove  the  safety  of  using  medications  and  iv fluid (HAD-LASA-Med Reconcile)  : M4

(6) พัฒนาเพื่อป้องกันการติดเชื้อเน้น Hand Hygiene

(7) พัฒนาการบ่งชี้ผู้ป่วย Improve the accuracy of patient identification : P1

(8)SEPSIS : E1

      2.พัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองในชุมชนและการจัดการด้านสุขภาพ ตั้งแต่ละดับบุคคล ครอบครัว ชุมชนและเครือข่ายการจัดการด้านสุขภาพ                                                       เพื่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง

  3.ยกระดับความพึงพอใจโดยมุ่งเน้นพัฒนาระบบบริการด่านหน้า ยกระดับความพึงพอใจโดยมุ่งเน้นพัฒนาระบบบริการด่านหน้า โดย Lean Process & Humanized Health care :HHC  , Spiritual HA :SHA พัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการเชื่อมโยงการดูแลผู้ป่วยในระดับเครือข่าย การบันทึกข้อมูล   ระบบHosXP , ความสมบูรณ์ของฐานข้อมูล

      4.พัฒนาศูนย์ข้อมูล Data center เชื่อมโยงข้อมูลบริการ พัฒนาความสมบูรณ์ของเวชระเบียนการดูแลผู้ป่วย และการส่งต่อดูแลต่อเนื่อง

      5. พัฒนาศักยภาพบุคลากรและการจัดการความรู้ ในเครือข่ายบริการ สอดคล้องกับกลุ่มโรคมุ่งเน้น ,CBL ,R2R

      6.พัฒนาระบบบริหารจัดการระบบสำคัญ ที่มีประสิทธิภาพ เน้นการกำกับ ติดตาม และการประเมินผลการดำเนินงาน

ประวัติความเป็นมา

โรงพยาบาลก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2525  แรกเริ่มเป็นโรงพยาบาลระดับ 10 เตียง  ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล ตำบลศรีธาตุ ติดถนนสมศิริ และอยู่ในบริเวณศูนย์ราชการต่าง ๆ  ให้บริการผู้ป่วยในอำเภอศรีธาตุ โดยให้บริการครอบคลุมด้านการรักษา ป้องกันและควบคุมโรค ส่งเสริมสุขภาพ

ปีงบประมาณ 2537 ขยายเป็นโรงพยาบาลขนาด  30 เตียง ที่บริเวณที่ตั้งโรงพยาบาลศรีธาตุปัจจุบัน คือ เลขที่ 27 บ้านพรประจักษ์ หมู่ 13 ตำบลจำปี อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี  อยู่บนถนนศรีธาตุ –วังสามหมอ กุมภวาปี ให้บริการดูแลประชาชนในเขตรับผิดชอบอำเภอศรีธาตุ และอำเภอใกล้เคียง  

วิสัยทัศน์ พันธกิจ (โรงพยาบาล)

วิสัยทัศน์

โรงพยาบาลศรีธาตุเป็นองค์กรชั้นนำแห่งการเรียน ให้บริการสุขภาพแบบองค์รวม ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน โดยชุมชนมีส่วนร่วม

พันธกิจ

  1. พัฒนาระบบบริการสุขภาพแบบองค์รวมที่มีคุณภาพ มาตรฐาน เน้นบริการเชิงรุก ร่วมมือกับภาคีและเครือข่ายภาคประชาชน
  2. พัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคลากรในเครือข่ายบริการสุขภาพให้มีสมรรถนะที่เหมาะสม เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำไปพัฒนากระบวนงานให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี
  3. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ

 

อัตลักษณ์โรงพยาบาล :

เป็นลักษณะที่เป็นตัวตน ที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของคนในองค์กรโรงพยาบาลศรีธาตุซึ่งได้กำหนดเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามแนวคิดโรงพยาบาลคุณธรรม โดยมีจุดมุ่งหมายหวังให้เป็นลักษณะเฉพาะของโรงพยาบาลศรีธาตุ บุคลากรโรงพยาบาลศรีธาตุ เมื่อกล่าวถึงหรือนึกถึงโรงพยาบาลศรีธาตุจะนึกถึงลักษณะเฉพาะ 3 ข้อดังกล่าวข้างต้น 

ค่านิยม (Core Value)

          โรงพยาบาลศรีธาตุ ได้ร่วมกันกำหนดค่านิยม เพื่อเป็นทิศทางกำกับพฤติกรรมของบุคลากร ซึ่งมีทั้งเป็นพฤติกรรมที่บุคลากรส่วนใหญ่ของโรงพยาบาลปฏิบัติได้ดี และเป็นทั้งค่านิยมที่ต้องการพัฒนาหรือผลักดันให้บุคลากรเกิดพฤติกรรม เพื่อผลักดันการพัฒนาองค์การโรงพยาบาลศรีธาตุ สู่องค์การที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนอำเภอศรีธาตุ

ดาวน์โหลดรายละเอียด

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อองค์กร / ตราสัญลักษณ์องค์กร

 

 

                                                      

 

 

          ภาษาไทย     โรงพยาบาลศรีธาตุ  

            ภาษาอังกฤษ :  Srithat Hospital

ที่อยู่   เลขที่ 27 หมู่13 บ้านพรประจักษ์ ตำบลจำปี อำเภอศรีธาตุจังหวัดอุดรธานี รหัสไปรษณีย์ 41230

ประเภทและระดับโรงพยาบาล

  • โรงพยาบาลชุมชน ระดับทุติยภูมิระดับต้น (F2)
  • สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในสังกัดรัฐบาล
  • จำนวนเตียงขออนุญาต   30 เตียง  จำนวนเตียงสำหรับให้บริการจริง 38 เตียง

ผู้นำองค์กรสูงสุด :  นพ.ปิยวัตร ตุงคโสภา  นายแพทย์ระดับชำนาญการพิเศษ

ผู้อำนวยการโรงพยาบาล

boss

นพ.ปิยวัตร ตุงคโสภา

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีธาตุ

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

 Facebook Fanpage

 

 

ล็อคอินใช้งาน

สถิติ ผู้เยี่ยมชม

6057436
วันนี้
เมื่อวานนี้
อาทิตย์นี้
อาทิตย์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
40
755
8615
6042975
18897
36228
6057436

Your IP: 3.141.21.66
2024-05-17 03:05
paw patrol videos
mybelmont
myvikingjourney
loserfruit
paula patton instagram
encore beach club
tb2k
youtube izlenme satın al
youtube izlenme
Şerit led