ยินดีต้อนรับ โรงพยาบาลศรีธาตุเป็นองค์กรชั้นนำแห่งการเรียน ให้บริการสุขภาพแบบองค์รวม ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน โดยชุมชนมีส่วนร่วม

โปรแกรมโรงพยาบาล

hrms oncloud2

ตรวจสอบสิทธิ์



 

  1. ประชาสัมพัธ์ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง รพ.ศรีธาตุ

  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
  • 6
  • 7

กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลศรีธาตุ

วิสัยทัศน์ :  กลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลศรีธาตุ เป็นกลุ่มงานแห่งการเรียนรู้ ชั้นนำ บริการพยาบาลมีคุณภาพมาตรฐาน ให้บริการพยาบาลแบบองค์รวม เน้นบริการเชิงรุกเชื่อมโยง ในรูปแบบเครือข่ายบริการพยาบาล

เจตนำนง

        ให้บริการพยาบาลอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน   เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลสุขภาพ ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์  สังคม และปัญญา  ส่งเสริมให้ผู้ป่วย ครอบครัวและประชาชนมีศักยภาพในการดูแลตนเองและมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพ บุคลากรทางการพยาบาลมีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และมีความสุข

 

ขอบเขตหน้าที่ของกลุ่มการพยาบาล

  1. จัดระบบการบริหารการพยาบาล   ให้มีอัตรากำลังเพียงพอที่จะสามารถให้การดูแลบริการผู้ป่วยได้อย่างมีคุณภาพ  โดยผู้ให้บริการมีความสุข
  2. พัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลให้มีศักยภาพสามารถตอบสนองภารกิจของหน่วยงาน กลุ่มการพยาบาล และโรงพยาบาลศรีธาตุโดยอยู่ในขอบเขตตามมาตรฐานและกฎหมาย จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ
  3. จัดระบบบริการทางการพยาบาลให้มีคุณภาพ โดยใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้รับบริการและครอบครัวร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ในการดูแลรักษาพยาบาล  การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค การฟื้นฟูสภาพ ของผู้ป่วยและครอบครัวให้สามารถดูแลตนเองได้

          

เป้าหมายของการบริหารการพยาบาล

  1. จัดบุคลากรทางการพยาบาล ให้มีเพียงพอในการให้บริการประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง  อย่างมีคุณภาพ
  2. บุคลากรทางการพยาบาลมีความรู้  ความสามารถเพียงพอ ในการให้บริการพยาบาล ตอบสนองภารกิจของหน่วยงาน กลุ่มการพยาบาล และโรงพยาบาลศรีธาตุได้อย่างมีคุณภาพ
  3. บุคลากรทางการพยาบาล  ใช้กระบวนการพยาบาลในการให้การพยาบาลตามมาตรฐาน  จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ

 

 

สิทธิของผู้ป่วย

     สิทธิ มนุษยชนมีหลักสำคัญที่ยอมรับในระดับสากลนั้น คือ บุคคลมีสิทธิที่จะตัดสินใจในกิจการ ต่าง ๆ ส่วนตัวด้วยตนเอง ซึ่งแสดงถึงความเป็นอิสระของมนุษย์ โดยเฉพาะผู้ป่วย ถือว่าเป็นบุคคลที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ ตลอดจนการได้รับรู้ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสมควรประกอบการ ตัดสินใจของตนเอง ฉะนั้นผู้ป่วยจึงเป็นบุคคลสำคัญที่จะต้องได้รับการพิทักษ์สิทธิ ในหลายๆ ประเทศได้ นำสิทธิของผู้ป่วยมาบัญญัติเป็นกฎหมาย สำหรับประเทศไทยมิได้ระบุไว้เป็นกฎหมายโดยตรง แต่มีกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 28 ว่า บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือใช้สิทธิเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น ๆ และมาตรา 31 ระบุว่า บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายและในประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้มีการกำหนดสิทธิผู้ป่วยซึ่งประกอบด้วยสิทธิในการ ตัดสินใจที่จะรับหรือเลือกบริการทางการแพทย์ สิทธิที่จะได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีมาตรฐาน สิทธิที่ จะได้รับการบอกกล่าวหรือสิทธิที่จะรู้ สิทธิส่วนตัวและสิทธิในครอบครัว สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัย สิทธิที่จะได้รับการชดเชยความเสียหาย และสิทธิที่จะได้รับการปกปิดเรื่องราวไว้เป็นความลับ     สำหรับประเทศไทย นั้นผู้ประกอบวิชาชีพ สภาวิชาชีพ และหน่วยงานที่มีส่วนสัมพันธ์กับผู้ป่วยโดยตรง ซึ่งได้แก่ แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา และคณะกรรมการ ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ ได้ร่วมกันประกาศสิทธิของผู้ป่วย เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2541 ไว้ดังนี้

     1. ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพ ตามบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
     2. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะรับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัต
ิ เนื่องจากความแตกต่างด้านฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สังคม ลัทธิการเมือง เพศ อายุ และลักษณะของความเจ็บป่วย
     3. ผู้ป่วยที่ขอรับบริการด้านสุขภาพมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอ และเข้าใจชัดเจน จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบ วิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือรีบด่วนหรือจำเป็น
     4. ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต มีสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดย ทันทีตามความจำเป็นแก่กรณี โดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่
     5. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบชื่อ สกุล และประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่เป็นผู้ให้บริการแก่ตน
     6. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่น
ที่มิได้เป็นผู้ให้บริการ แก่ตน และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการและสถานบริการได้
     7. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ
โดยเคร่งครัด เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
     8. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วนในการตัดสินใจเข้าร่วม หรือถอนตัวจากการเป็นผู้ถูกทดลองในการทำวิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ
     9. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตน
ที่ปรากฏในเวชระเบียนเมื่อร้องขอ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น
   10. บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม อาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์ ผู้บกพร่องทางกายหรือจิต ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเองได้

สิทธิของผู้ป่วยทั้ง 10 ประเด็นนี้ เป็นประเด็นสำคัญที่ผู้ประกอบ วิชาชีพจะต้องทำความเข้าใจและวิเคราะห์ว่าในบทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพในแต่ ละสาขานั้น โดยอิสระในวิชาชีพของตนเองและส่วนที่เกี่ยวข้องมีบทบาทอะไรบ้างในการปฏิบัติ งานในวิชาชีพของตนเองที่พึงปฏิบัติ พึงละเว้น และสนองตอบสิทธิของผู้ป่วยในประเด็นต่างๆ สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลนั้นมีประเด็นสำคัญในบทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพ พยาบาลที่จะสนองตอบต่อสิทธิผู้ป่วย ซึ่งกองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดไว้ในแนวทางการดำเนินงานเพื่อพิทักษ์สิทธิของผู้ป่วย : สำหรับพยาบาล พอสรุปได้ ดังนี้คือ
     1. การสนองตอบต่อสิทธิพื้นฐานที่จะรับบริการด้านสุขภาพ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น

ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลจะต้องใช้ความรู้ในวิชาชีพและวิจารณญาณในการตัดสินใจ ดูแลผู้ใช้บริการเป็นรายๆ ตามความเหมาะสมและรู้สิทธิพึงมีพึงได้ของผู้ใช้บริการทุกลักษณะเพื่อให้การ ดูแลที่ถูกต้องเหมาะสม
     2. สิทธิที่จะได้รับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัตินั้น ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลจะต้องปฏิบัติต่อผู้ใช้บริการทุกรายเท่าเทียมกัน อย่างสุภาพอ่อนโยน เอื้ออาทร เคารพในความเชื่อเกี่ยวกับศาสนา และละเว้นจากการปฏิบัติที่มีอคติ

     3. สิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอในด้านบริการด้านสุขภาพ เพื่อ ประกอบการตัดสินใจการรับบริการของผู้ป่วยประเด็นนี้เป็นบทบาทสำคัญของพยาบาล ที่จะต้องเผชิญตลอดเวลาของการปฏิบัติงานพยาบาล จึงต้องให้ความสำคัญของบทบาทในการที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับระเบียบ กฎเกณฑ์ของหน่วยงาน ข้อมูล ที่เป็นข้อปฏิบัติในการให้บริการสุขภาพ ข้อมูลเกี่ยวกับการวินิจฉัย พยากรณ์โรค การบำบัดรักษาและ การเสี่ยงต่ออันตรายโดยต้องคำนึงถึงประเด็นจริยธรรมเกี่ยวกับการบอกความจริง รวมถึงข้อมูลที่จะให้บริการและปฏิบัติการต่อผู้ป่วยในทุกครั้ง ทั้งนี้เพื่อการรับทราบและเป็นข้อมูลในการตัดสินใจของผู้ป่วย

     4. ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลจะต้องมีบทบาทในการช่วยเหลือผู้ป่วย ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตทันที และต้องไม่ปฏิเสธการช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในระยะอันตรายจากการเจ็บป่วย

     5. ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลต้องแสดงข้อมูลบ่งชี้ ชื่อ สกุล ตำแหน่ง และคุณวุฒิ ของตนเองแก่ผู้รับบริการ รวมทั้งยอมรับและเข้าใจสิทธิของผู้ป่วยในการขอทราบความเห็นในการดูแลรักษา ปรับเปลี่ยนผู้ให้บริการหรือสถานบริการ

     6. บทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลที่สำคัญประการหนึ่งในเรื่องข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ ผู้ป่วย คือ การเก็บรายงานเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของผู้ป่วยไว้เป็นสัดส่วนเป็นระบบ ไม่เปิดเผยความลับของผู้ป่วย เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยและหรือการปฏิบัติตามหน้าที่ตามกฎหมาย
     7. บทบาทของพยาบาลในการให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน เพื่อประกอบในการ ตัดสินใจร่วมหรือถอนตัวจากการเป็นผู้ถูกทดลองในการวิจัยด้านสุขภาพ ทั้งนี้ บทบาทของพยาบาลจะต้องกำหนดระเบียบปฏิบัติขั้นตอนการปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน โปร่งใส เพื่อผู้ร่วมการทดลอง โดยเฉพาะ ผู้ถูกทดลองทราบทุกขั้นตอน
     8. ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลต้องมีบทบาทในการกำหนดระเบียบขั้นตอนการปฏิบัติ เพื่อสิทธิของผู้ป่วยในการขอทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาของตน
     9. ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลต้องมีบทบาทในการปกป้องการละเมิดสิทธิของผู้ป่วยทั้งในด้านของการปฏิบัติการพยาบาล และการเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม โดยการวิเคราะห์ตัดสินใจด้วยความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องของผู้ป่วย

อัตรากำลัง

สายวิชาชีพ

ประเภทบุคลากร

ประเภทการจ้าง

จำนวน

แพทย์

ข้าราชการ

5

ทันตแพทย์

ข้าราชการ

3

เภสัชกร

ข้าราชการ

4

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

1

พยาบาลวิชาชีพ ใน รพ.
กลุ่มการพยาบาล   26 คน
กลุ่มเวชปฏิบัติชุมชน 7 คน
PCU รพ.ศรีธาตุ      3 คน

ข้าราชการ

27

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

7

ลูกจ้างชั่วคราว นักเรียนทุน

2

ลูกจ้างชั่วคราว

1

นักเทคนิคการแพทย์
นักวิทยาศาสตร์การแพทย์

ข้าราชการ

1

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

1

นักกายภาพบำบัด

ข้าราชการ

1

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

1

นักวิชาการสาธารณสุข

ข้าราชการ

1

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

2

แพทย์แผนไทย

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

2

รวม 59

 

สายสนับสนุนการแพทย์

ประเภทบุคลากร

ประเภทการจ้าง

จำนวน

เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์

ข้าราชการ

1

เจ้าหน้าที่เวชสถิติ

ข้าราชการ

1

เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข

ข้าราชการ

1

เจ้าพนักงานเภสัชกรรม

ข้าราชการ

4

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

1

เจ้าพนักงานสาธารณสุข

ข้าราชการ

1

เจ้าพนักงานสาธารณสุข
(เวชกิจฉุกเฉิน)

ข้าราชการ

1

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

3

พนักงานช่วยเหลือคนไข้

ลูกจ้างประจำ

3

 

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

8

พนักงานบริการ

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

3

ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ลูกจ้างประจำ

1

ผู้ช่วยนักกายภาพบำบัด

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

1

ลูกจ้างชั่วคราว

1

ผู้ช่วยทันตแพทย์

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

1

พนักงานประจำห้องทดลอง

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

1

พนักงานการแพทย์และรังสีเทคนิค

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

1

ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

1

รวม 34

 

สายสนับสนุนทั่วไป

ประเภทบุคลากร

ประเภทการจ้าง

จำนวน

เจ้าพนักงานธุรการอาวุโส

ข้าราชการ

1

เจ้าพนักงานธุรการ

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

1

เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี

ข้าราชการ

1

พนักงานการเงินและบัญชี

พนักงานราชการ

1

พนักงานเก็บเงิน

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

1

นักวิชาการคอมพิวเตอร์

พนักงานราชการ

1

พนักงานพิมพ์

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

4

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

ลูกจ้างชั่วคราว

1

นักจัดการงานทั่วไป

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

1

โภชนากร

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

1

นายช่างเทคนิค

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

1

เจ้าพนักงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

1

ผู้ช่วยพนักงานสุขศึกษา

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

1

เจ้าพนักงานห้องสมุด

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

1

พนักงานประกอบอาหาร

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

2

พนักงานบริการ

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

6

พนักงานซักฟอก

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

3

พนักงานเกษตรพื้นฐาน

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

1

พนักงานขับรถ

ลูกจ้างชั่วคราว

3

รวม 32

จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาล

 จรรยาบรรณวิชาชีพ

       การพยาบาลเป็นการปฏิบัติโดยตรงต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคม นับได้ว่าเป็นบริการในระดับสถาบันของสังคม ดังนั้นผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลจึงต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง เป็นผู้ที่ไว้วางใจได้ มีความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติ มีจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นแนวทางในการประพฤติและปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของสังคมโดยส่วนรวม

1.จรรยาบรรณวิชาชีพ

    จรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับพยาบาลเป็นการประมวลหลักความประพฤติให้บุคคล ในวิชาชีพยึดถือปฏิบัติ สมาคมพยาบาลแห่งสหรัฐอเมริกา (The America Nurses Associations A.N.A.) ได้กำหนดสาระสำคัญของจรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาลไว้ดังนี้
     1) พยาบาลพึงให้บริการพยาบาลด้วยความเคารพในศักดิ์ศรี และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยไม่จำกัด ในเรื่อง สถานภาพทางสังคม เศรษฐกิจ คุณสมบัติเฉพาะกิจหรือสภาพปัญหาทางด้านสุขภาพอนามัยของผู้ป่วย
     2) พยาบาลพึงเคารพสิทธิส่วนตัวของผู้ป่วยโดยรักษาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยไว้เป็นความลับ
     3) พยาบาลพึงให้การปกป้องคุ้มครองแก่ผู้ป่วย สังคม ในกรณีที่มีการให้บริการสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย ถูกกระทำการที่อาจเกิด จากความไม่รู้ ขาดศีลธรรม จริยธรรม หรือการกระทำที่ผิดกฎหมายจากบุคคลหนึ่งบุคคลใด
     4) พยาบาลมีหน้าที่รับผิดชอบในการตัดสินใจและให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยแต่ละราย
     5) พยาบาลพึงดำรงไว้ซึ่งสมรรถนะในการปฏิบัติการพยาบาล
     6) พยาบาลพึงตัดสินใจด้วยความรอบคอบถี่ถ้วน ใช้ข้อมูลสมรรถนะและคุณสมบัติอื่นๆ เป็นหลักในการขอคำปรึกษาหารือ ยอมรับในหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมถึง การมอบหมายกิจกรรมการปฏิบัติการพยาบาลให้ผู้อื่นปฏิบัติ
     7) พยาบาลพึงมีส่วนร่วมและสนับสนุนในกิจกรรมการพัฒนาความรู้เชิงวิชาชีพ
     8) พยาบาลพึงมีส่วนร่วมและสนับสนุนในการพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล
     9) พยาบาลพึงมีส่วนร่วมในการที่จะกำหนดและดำรงไว้ซึ่งสถานะภาพของการทำงานที่จะนำไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลที่มีคุณภาพสูง
   10) พยาบาลพึงมีส่วนร่วมในการปกป้อง คุ้มครอง สังคม จากการเสนอข้อมูลที่ผิด และดำรงไว้ซึ่งความสามัคคีในวิชาชีพ
   11) พยาบาลพึงร่วมมือและเป็นเครือข่ายกับสมาชิกด้านสุขภาพอนามัยและบุคคล อื่นๆในสังคมเพื่อส่งเสริมชุมชนและสนองตอบความต้องการด้านสุขภาพอนามัยของ สังคมสำหรับสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ได้กำหนดจรรยาบรรณวิชาชีพของสมาคม พ.ศ. 2528 มุ่งเน้นให้พยาบาลได้ประพฤติปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยกำหนดเป็นความรับผิดชอบต่อประชาชน ความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ ต่อผู้ร่วมวิชาชีพและต่อตนเองดังนี้

จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อประชาชน
1. ประกอบวิชาชีพด้วยความมีสติ ตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
2. ปฏิบัติต่อประชาชนด้วยความเสมอภาคตามสิทธิมนุษยชน โดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ ศาสนา และสถานภาพของบุคคล
3. ละเว้นการปฏิบัติที่มีอคติ และการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน
4. พึงเก็บรักษาเรื่องส่วนตัวของผู้รับบริการไว้เป็นความลับ เว้นแต่ด้วยความยินยอมของผู้นั้นหรือเมื่อต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
5. พึงปฏิบัติหน้าที่โดยใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ในการวินิจฉัยและ การแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยอย่างเหมาะสมแก่สภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน
6. พึงป้องกันภยันตรายอันจะมีผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน

จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อสังคมและประเทศชาติ
1. พึงประกอบกิจแห่งวิชาชีพให้สอดคล้องกับนโยบายอันยังประโยชน์แก่สาธารณชน
2. พึงรับผิดชอบร่วมกับประชาชนในการริเริ่ม สนับสนุนกิจกรรมที่ก่อให้เกิดสันติสุข และยกระดับคุณภาพชีวิต
3. พึงอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ
4. พึงประกอบวิชาชีพโดยมุ่งส่งเสริมความมั่นคงของชาติ ศาสนา และสถาบันกษัตริย์

จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อวิชาชีพ
1. พึงตระหนักและถือปฏิบัติในหน้าที่ความรับผิดชอบตามหลักการแห่งวิชาชีพการพยาบาล
2. พัฒนาความรู้และวิธีปฏิบัติให้ได้มาตรฐานแห่งวิชาชีพ
3. พึงศรัทธาสนับสนุนและให้ความร่วมมือในกิจกรรมแห่งวิชาชีพ
4. พึงสร้างและธำรงไว้ซึ่งสิทธิอันชอบธรรม ในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล
5. พึงเผยแพร่ชื่อเสียงและคุณค่าแห่งวิชาชีพให้เป็นที่ปรากฏแก่สังคม

จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อผู้ร่วมวิชาชีพและผู้ประกอบวิชาชีพอื่น
1. ให้เกียรติ เคารพในสิทธิและหน้าที่ของผู้ร่วมวิชาชีพและผู้อื่น
2. เห็นคุณค่าและยกย่องผู้มีความรู้ ความสามารถในศาสตร์สาขาต่างๆ
3. พึงรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดี กับผู้ร่วมงานทั้งภายในและภายนอกวิชาชีพ
4. ยอมรับความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ และชักนำให้ประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกที่ควร
5. พึงอำนวยความสะดวกและให้ความร่วมมือแก่ผู้ร่วมงานในการปฏิบัติภารกิจอันชอบธรรม
6. ละเว้นการส่งเสริมหรือปกป้องผู้ประพฤติผิด เพื่อผลประโยชน์แห่งตนหรือผู้กระทำการนั้นๆ

จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อตนเอง
1. ประพฤติตนและประกอบกิจแห่งวิชาชีพ โดยถูกต้องตามกฎหมาย
2. ยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ
3. ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งในด้านการประกอบกิจแห่งวิชาชีพและส่วนตัว
4. ใฝ่รู้พัฒนาแนวคิดให้กว้าง และยอมรับการเปลี่ยนแปลง
5. ประกอบกิจแห่งวิชาชีพด้วยความเต็มใจ และเต็มกำลังความสามารถ
6. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมีสติ รอบรู้ เชื่อมั่นและมีวิจารณญาณอันรอบคอบ

2. ข้อมูลจากการวิจัยที่เกี่ยวกับคุณภาพบริการพยาบาลและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามความคาดหวังของผู้ใช้บริการ     จาก การพัฒนารูปแบบของกรอบแนวคิดของคุณภาพบริการและระเบียบวิธีการวัดการรับรู้ คุณภาพบริการของผู้รับบริการของ Parasura man , Zeithaml และ Berry (1985 อ้างในพัชรี ทองแผ่.2500) พบว่า ในการรับบริการผู้รับบริการใช้เกณฑ์ 5 ประการ ในการกำหนดคุณภาพบริการ คือ
     1) ความเป็นรูปพรรณของบริการ (Tangibles)
     2) ความไว้วางใจได้ (Reliability)
     3) การตอบสนองต่อผู้รับบริการทันที (Responsiveness)
     4) ความน่าเชื่อถือ (Assurance)
     5) การเข้าใจและรู้จักผู้รับบริการ (Emphathy) และจากการศึกษาวิจัยในประเทศ ไทยเกี่ยวกับการรับรู้และควาดคาดหวังของผู้ใช้บริการพยาบาลผู้ป่วยหรือผู้ ใช้บริการที่เข้ามารับบริการพยาบาลส่วนมากไม่มีความเชิงวิชาชีพดังนั้นเมื่อ เข้ามารับบริการจึงมุ่งหวังเพียงความถูกต้องและความถูกใจของบริการที่จะได้ รับซึ่งคุณภาพของงานบริการที่ผู้ป่วย/ผู้ใช้บริการคาดหวังจะได้จากบริการ พยาบาล คือ
           (1) การได้รับบริการที่ดี ผู้ใช้บริการมีความรู้
           (2) การได้รับบริการที่ถูกต้อง เหมาะสม และรวดเร็ว
           (3) การบริการที่มีความปลอดภัย ได้มาตรฐาน
           (4) การได้รับการดูแลที่เอื้ออาทร เอาใจใส่ มีอัธยาศัย
           (5) ความเชื่อมั่นและไว้วางใจได้รวมถึงความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ
           (6) การสื่อสารที่เข้าใจ 

นอกจากนี้จากการศึกษายังพบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ใช้บริการมีความคาดหวังแตกต่างกันประกอบด้วย
                1. ความคาดหวังที่เกิดจากการบอกเล่าปากต่อปาก
                2. ความคาดหวังที่เกิดจากความต้องการส่วนตัวของผู้รับบริการ ซึ่งเป็นความต้องการของแต่ละบุคคลและมีความแตกต่างกันตามภูมิหลังของบุคคล นั้น เช่น เพศ อายุ รายได้ อาชีพ ระดับการศึกษา
                3. ความคาดหวังที่เกิดจากประสบการณ์ในอดีต
                4. ความคาดหวังที่เกิดจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์ของผู้ให้บริการ 

จากการศึกษาวิเคราะห์ของทีมแกนนำทั้ง 4 ภาคพบว่าภาพลักษณ์ของผู้ประกอบวิชาชีพ ประกอบด้วย
                1. บุคลิกภาพดี
                2. กริยาท่าทาง สุภาพ อ่อนโยน กระตือรือร้น
                3. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
                4. มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงออก
                5. มีความรู้
                6. เสียสละ
                7. มีคุณภาพ และจริยธรรมประจำใจ
                8. กล้าตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้
                9. รักษาสิทธิผู้ใช้บริการ

ผู้อำนวยการโรงพยาบาล

boss

นพ.ปิยวัตร ตุงคโสภา

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีธาตุ

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

 Facebook Fanpage

 

 

ล็อคอินใช้งาน

สถิติ ผู้เยี่ยมชม

6057396
วันนี้
เมื่อวานนี้
อาทิตย์นี้
อาทิตย์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
755
792
8575
6042975
18857
36228
6057396

Your IP: 18.219.80.85
2024-05-16 23:54
paw patrol videos
mybelmont
myvikingjourney
loserfruit
paula patton instagram
encore beach club
tb2k
youtube izlenme satın al
youtube izlenme
Şerit led